วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552

การดูแลสัตว์เลี้ยงเบื้องต้น



คุยกับสัตว์เลี้ยงเอาใจใส่มันให้ดี เพราะเมื่อทำอย่างนั้นแล้วระดับความสนิทสนมของเพื่อนๆ กับสัตว์เลี้ยงจะเพิ่มขึ้น และเวลาของมันก็จะเพิ่มตามไปด้วย ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อสัตว์เลี้ยงมีเวลาสูงระดับหนึ่ง มันจะสามารถพูดคุยโต้ตอบได้ เหมือนกับคน ดังนั้นเลี้ยงมันให้ดี แต่บอกไว้ก่อนว่านี่ไม่ใช่เรื่องง่ายหรอกนะ เพราะเมื่อไหร่ที่เพื่อนๆ ละเลยหรือไม่เอา ใจใส่มัน ระดับความสนิทสนมก็จะลดลงไปได้ เช่นเดียวกัน ระดับความอิ่มลดลงเหลือ 0 ค่าความใกล้ชิดจะลดลงเรื่อยๆ จนสุดท้ายพวกมันก็จะหนีกลับเข้าไปที่ช่องสัมภาระทันที เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่ดูสัตว์เลี้ยงของเราก็จะทำให้สัตว์เลี้ยงของเรามีปัญหา ถ้าเราไม่มีเวลาให้กับสัตว์เลี้ยงจริงๆเราก็ไม่ควรจะนำเขามาเลี้ยงให้เกิดปัญหากับสังคม

การดูแลสัตว์ป่วยในเบื้องต้น
กรณีสัตว์ที่ป่วย หรือสัตว์ที่มีสุขภาพไม่สมบูรณ์ อาการที่ผู้เลี้ยงสัตว์สามารถสัเกตพบได้ มีดังนี้
1. การกินอาหาร สัตว์ป่วยจะกินอาหารน้อยลงหรือไม่สนใจที่จะกินอาหาร
2. อุณหภูมิของร่างกาย สัตว์ป่วยจะมีอุณหภูมิของร่างกายสูงกว่าปกติ หรือเรียกว่า “สัตว์มีไข้”
อุณหภูมิของร่างกายสูงกว่าปกติเมื่อสัตว์ป่วย สาเหตุก็เนื่องจากเชื้อโรคไปรบกวนการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
3. ความสนใจกับสภาพแวดล้อม สัตว์ป่วยจะแสดงอาการซึม ไม่สนใจต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง หรือเสียงเคาะเรียก
4. จมูก บริเวณปลายจมูกของสัตว์ป่วยจะแห้ง อาจพบน้ำมูกใสหรอืขุ่นเขียวก็ได้แล้วแต่ชนิดของเชื้อโรค
5. ไอหรือจาม โดยเฉพาะสุกรหรือกระต่ายที่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อทางระบบหายใจ จะมีอาการไอหรือจามมาก
6. ผิวหนังและขน สัตว์ป่วยจะมีผิวหนังซีดขาว (สุกร) และขนจะหยาบยาวไม่เป็นมันหรือเป็นแผล หรือมีฝีหรือตุ่มแดงที่ผิวหนัง
7. เยื่อตาและเหงือก จะมีสีชมพูเข้มหรือแดงเมื่อสัตวืป่วยมีไข้ หรือมีสีขาวซีดเมื่อสัตว์ป่วยเป็นโรคโลหิตจาง หรือโรคพยาธิภายใน หรือมีเลือดตกภายในช่องท้อง หรือช่องอกหรือมีพาราไซค์ในเลือด เป็นต้น
8. การกินน้ำ สัตว์ป่วยจะกินน้ำน้อยลง และถ้าสัตว์ไม่สนใจที่จะกินน้ำเลยแสดงว่าสัตว์ป่วยหนัก หรือใกล้ตาย
9. การหายใจ อัตราการหายใจของสัตว์ป่วยอาจจะเพิ่มมากขึ้นหรือน้อยลงกว่าปกติก็ได้ และการหายใจขึ้นลงของทรวงอกจะไม่สม่ำเสมอ สาเหตุส่วนมากเนื่องมาจากการติดเชื้อโรคทางระบบหายใจ หรือโรคหัวใจ
10. การเต้นของหัวใจ อัตราการเต้นของหัวใจของสัตว์ป่วยอาจจะเร็วหรือช้ากว่าปกติ ซึ่งสาเหตุอาจเนื่องมาจากโรคโลหิตเป็นพิษ โรคติดเชื้อทางระบบหายใจ โรคหัวใจ หรือมีเลือดตกในช่องท้องหรือช่องอกก็ได้
11. การขับถ่ายอุจจาระ อุจจาระของสัตว์ป่ามักจะมีลักษณะแข็งเป็นเม็ด หรือเหลวเป็นน้ำหรือมีเลือดหรือมูกเลือดปนออกมา
12. การขับ่ถายปัสสาวะ ปัสสาวะของสัตว์ป่ามักจะมีลักษณะขุ่นหรือมีเลือดปน หรือมีสีเหลืองเข้มขึ้น
13. การเจริญเติบโต สัตว์ป่วย จะโตช้า ผอม ซึ่งสาเหตุที่พบเป็นปัญหามากคือ โรคพยาธิภายในและภายนอก หรือโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง หรือโรคปอดเรื้อรัง
14. การสืบพันธุ์ สัตว์เพศเมียและผู้เมือถึงอายุสมบูรณ์เพศหรือสมบูรณ์พันธุ์ แต่ไม่แสดงอาการหรือลักษณะของเพศ หรือความต้องการทางเพศออกมาให้เห็น
15. การคลอดลูก เมื่อสัตว์ตั้งท้องและถึงกำหนดคลอดลูกแล้ว แต่ไม่มีการคลอด (ท้องเทียม) เกิดขึ้น หรือระยะเวลาการคลอดนานกว่าปกติ หรือการคลอดที่ผิดปกติ เนื่องจากเชิงกรานแคบ หรือลูกตัวโตเกินไป หรือช่องคลอดไม่เปิด หรือมดลูกไม่มีแรงบีบตัว
16. เต้านม สัตว์ป่วยด้วยโรคเต้านมอักเสบ จะพบอาการเต้านมบวม แดง ร้อนและแข็ง (ไม่นุ่มหรือ)
17. ช่องคลอด ภายหลังการผสมพันธุ์ หรือการคลอดลูกที่มีการจัดการไม่สะอาด จะพบหนองสีครีมหรือเขียวไหลออกมาจากช่องคลอด
18. การเดินและท่าเดิน การเดินและท่าเดินจะผิดปกติเมื่อสัตว์ป่วยด้วยโรคทางระบบประสาท ตัวอย่างเข่น เดินเป็นวงกลมหรือเดินแข็งเกร็ง เพราะเป็นโรคบาดทะยัก เป็นต้น